เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู Information and Communication Technology for Teachers

วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

กิจกรรมรับน้อง



รับน้อง หรือ กิจกรรมต้อนรับนักเรียนหรือนักศึกษาใหม่ คือ กิจกรรมที่นิสิตรวมถึงนักศึกษาหรือนักเรียนรุ่น พี่ จัดขึ้นสำหรับ นักศึกษาใหม่ที่เข้ารับการศึกษา เป้าหมายเพื่อทำให้นักศึกษาที่เข้าใหม่ได้ทำความรู้จักกับรุ่นพี่ของสถาน ศึกษานั้น และเรียนรู้วิธีการประพฤติปฏิบัติตัวในสังคมสถานศึกษานั้น ในขณะเดียวกันปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาจากการประพฤติตัว ไม่เหมาะสมของรุ่นพี่ในการใช้อำนาจที่ไม่ถูก ทำให้มีการถกเถียงกันในสังคมไทย
ในหลายสถาบันได้มีการจัดการรับน้องภายในช่วงระหว่างเปิดการศึกษา ตั้งแต่ช่วงก่อนเปิดการศึกษาจนถึงหนึ่งเดือนภายหลังจากวันแรกที่เปิดการ ศึกษา
ปัจจุบันการรับน้องในประเทศไทยถูกกล่าวถึงว่าใช้เป็นส่วนหนึ่งของระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย


ประวัติการรับน้องในประเทศไทย

ประวัติรับน้องในประเทศไทยเริ่มจากในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลระหว่างคณะแพทย ศาสตร์กับคณะวิทยาศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2474 ได้มีเหตุการณ์ไม่งามเกิดขึ้น คือ แบ็คของคณะแพทยศาสตร์ได้ถูกผู้เล่นในทีมตรงข้ามวิ่งเข้าต่อย ซึ่งสโมสรสาขาศิริราชสืบทราบว่าได้มีการตระเตรียมวางแผนการไว้ก่อนแล้ว จึงได้ส่งหลักฐานฟ้องร้องไปทางสโมสรกลางให้จัดการลงโทษแก่ผู้กระทำผิดนั้น ต่อมา ได้มีการพิจารณาและไต่สวนกันหลายครั้ง แต่ในที่สุดบรรยเวกษ์ก็ได้อะลุ่มอล่วยให้เลิกแล้วกันไป นิสิตแพทย์ส่วนมากไม่พอใจ เนื่องด้วยนิสสิตคณะวิทยาศาสตร์บางส่วนจะต้องข้ามมาเรียนปีสองที่คณะแพทย ศาสตร์ จึงได้มีเสียงหมายมั่นจะแก้มือด้วยประการต่าง ๆ ซึ่งไม่ต้องสงสัยว่าจะต้องรู้ไปถึงหูพวกที่เป็นต้นเหตุนั้น แต่ครั้นใกล้เวลาที่พวกใหม่จะต้องมาเรียนที่ศิริราช คณะกรรมการสโมสรสาขาศิริราชได้มีความเห็นว่า การแก้แค้นจะทำให้แตกความสามัคคี ดังนั้นชาวศิริราชจึงได้ตกลงเลือกทางกุศล คือ แทนที่จะใช้วิธีการบีบบังคับให้ขอขมา กลับจัดการเลี้ยงต้อนรับเป็นการแสดงการให้อภัยและเชื่อมความสามัคคีแทนพิธียกโทษกลายมาเป็นประเพณีประจำคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งต่อมาคือประเพณีรับน้องข้ามฟากของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และได้ขยายวงกว้างออกไปยังหมู่คณะอื่น ๆ อีกด้วย
อย่างไรก็ดี ความเจริญมีมากขึ้นตามจำนวนปีที่ผ่านไป การต้องรับนิสสิตใหม่ได้แปรรูปตามไปด้วย ทำให้งานนี้ได้กลายเป็นโอกาสสำหรับโอ่อ่าและประกวดประขันกันต่าง ๆ
ส่วนกำเนิดการรับน้องแบบรุนแรงหรือระบบว๊ากสำหรับประเทศไทยซึ่งคนไทยทั่วไปเข้าใจว่าเป็น "ระบบโซตัส" มาจากโรงเรียนป่าไม้ภาคเหนือหรือวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งกลายเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน รับระบบนี้มาใช้เป็นแห่งแรก โดยอาจารย์ในยุคบุกเบิกส่วนใหญ่ที่จบจากวิทยาลัยเกษตรกรรมลอสบานยอส (Los Baños)ที่เป็นส่วนหนึ่งของ มหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ ได้นำระบบว๊ากถ่ายทอดให้กับนิสิตนักศึกษา นอกจากนี้อาจารย์บางท่านก็ถูกส่งไปถึงมหาวิทยาลัยออริกอนสเตต (Oregon State University) และมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University ) ที่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นต้นฉบับของระบบว๊าก ประเพณีที่ว่านี้ก็คงติดตัวท่านเหล่านั้นเข้ามาเช่นกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2486 เมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยในช่วงแรกนั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับนิสิตจากวิทยาลัยเกษตรกรรม เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระบบว๊ากจึงถูกใช้ในการรับน้องด้วย
ผู้ที่นำระบบการกดดันรุ่นน้องเข้ามาคิดว่าเทคนิคกดดันกลั่นแกล้งเหล่านี้ เป็นการละลายพฤติกรรม ลดทอนความต่างของฐานะให้นิสิตใหม่รู้สึกเท่าเทียม มีความรักสามัคคี ซึ่ง ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ได้พูดถึงที่มาของระบบว๊ากในหนังสือ "หนุ่มหน่ายคัมภีร์" ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ โดยให้ภาพการถ่ายทอดประเพณีการรับน้องจากสหรัฐอเมริกาสู่ไทยโดยผ่านมาทาง ฟิลิปปินส์ว่า "ตัวอย่างของการที่ประเพณีประเภทนี้แผ่ขยายเข้ามาในเมืองไทยจะเห็นได้ชัดใน กรณีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คือประเพณีการคลุกโคลนปีนเสา...เห็นได้ชัดใน อดีตอันแสนไกลของมหาวิทยาลัยคอร์แนล...ภาพเก่าๆ เกี่ยวกับอดีตของคอร์แนลมักจะมีรูปการปีนเสาทรมานแบบนี้ แต่นั่นก็ได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ประเพณีการปีนเสานี้ก็ได้แผ่ขยายไปยังฟิลิปปินส์ ในสมัยนั้นฟิลิปปินส์เป็นเมืองขึ้นของสหรัฐอเมริกาอยู่ และคอร์แนลก็ได้มีส่วนร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ คอร์แนลมีคณะเกษตรที่ค่อนข้างมีชื่อเสียง ดังนั้นจึงได้เข้ามามีส่วนช่วยสร้างวิทยาลัยเกษตรที่ลอสบันยอส ประเพณีการปีนเสาก็ถูกถ่ายเทจากมหาวิทยาลัยเมืองแม่มายังมหาวิทยาลัย อาณานิคม"จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยในประเทศไทยรับระบบการรับน้องแบบว๊ากในช่วงที่การรับน้องแบบนี้ยังเป็นที่นิยมในสหรัฐและฟิลิปปินส์อยู่





กิจกรรมที่ต้องทำในวันรับน้อง

โดยทั่วไปรุ่นพี่ก็จะเริ่มด้วยการแนะนำตัวเองทั้งพี่และน้อง เพื่อเป็นการทำความรู้จักซึ่งกันและกัน  รุ่นพี่จำเป็นต้องทำให้น้องรู้สึกสนุกสนาน  มี ความสุขไปกับรุ่นพี่และเพื่อนใหม่ๆ ในคณะ รวมทั้งยังต้องทำให้น้องใหม่รู้จักคณะมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโดยการสอนน้องร้องเพลงของคณะ หรือเพลงที่รุ่นพี่จะสามารถสันทนาการให้น้องๆ มีอารมณ์ร่วมไปกับพี่ได้ และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ การเต้นประกอบ ถือว่าเป็นวิธีการแสนธรรมดา แต่ว่าสามารถเพิ่มขีดความสนุกสนานได้มากเหลือเกิน และยังช่วยให้น้องๆ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมมากยิ่งขึ้น  ทั้ง รุ่นพี่และรุ่นน้องต่างก็จะงัดท่าเต้นเด็ดๆ มาโชว์กัน ท่าเต้นใครเจ๋ง ท่าเต้นใครแรง กินใจท่านคณะกรรมการทั้งหลาย น้องคนนั้นก็จะได้เกิดกันไป  จนเป็นที่ประทับใจของรุ่นพี่หลายๆ คน แล้วแต่บุญพาวาสนาส่งว่าจะพาให้เกิด(หรือดับ)กันแค่ไหน

 

                                        ประโยชน์ของการรับน้อง

 1. สืบสานประเพณีที่ทำกันมาเป็นรุ่นๆ
2. ทำให้เกิดการเสียสละเวลาบ้างในการทำกิจกรรม
3. รุ่นพี่สร้างปัญหาชึ่งอยู่ในกรอบที่เหมาะสมเพื่อให้น้องๆได้เเก้ปัญหานั้นร่วมกัน
4. เกิดคววมสามัคคีในหมู่คณะ รูจักช่วยเหลือกัน
5. ให้น้องๆ เกิดความรักในสถาบัน
6. เวลาเรียนไม่เข้าใจในฐานะรุ่นพี่จะช่วยน้องๆได้ ยิ่งถ้ามาได้รู้จักกันในกิจกรรมรับน้อง

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น